การฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนอายุความ 2 ปี
อัพเดทล่าสุด: 29 พ.ค. 2024
491 ผู้เข้าชม
การฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2538
คำพิพากษาย่อสั้น
โจทก์รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยทำไว้กับผู้เอาประกันภัยของจำเลยจึงเป็นการฟ้องในมูลสัญญาประกันภัยมิใช่มูลละเมิดอายุความฟ้องคดีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882วรรคแรก คือ 2 ปี ซึ่งใช้บังคับถึงกรณีที่บุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องผู้รับประกันภัยด้วย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จำเลยรับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2532 ขณะที่นายดอกรัก ยิ้มใย ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มาตามถนน วิภาวดีรังสิต มีนายชินพร ขับรถยนต์ตามหลังมาและด้วยความประมาทของนายชินพร ทำให้ รถยนต์ทั้งสองคันเกิดเฉี่ยวชนกันและได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจำนวน 6,300 บาท ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินจำนวน 6,300 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยให้การว่าผู้เอาประกันภัยกับโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถหรือมีส่วนได้เสียไม่มีสิทธินำรถมา ประกันภัยกับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เหตุเกิดจากความประมาทของนายดอกรักแต่เพียง ฝ่ายเดียว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 6,300 บาท ให้แก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประเด็น เดียวว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่ามูลคดีนี้เกิดจากมูลละเมิดเรื่องรถยนต์ ชนกัน โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดหาใช่มูลคดีอันเกิดจากการผิดสัญญาประกันภัยไม่ จึงต้องนำอายุความเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับและคดีนี้โจทก์อาศัยการรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยของโจทก์มา ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยเมื่อผู้เอาประกันภัยของโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดโจทก์ก็ต้องรับช่วงสิทธิในอายุความ 1 ปีเช่นกัน ส่วนการนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ซึ่ง มีอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับต้องเป็นกรณีผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่อกันเท่านั้นเมื่อเหตุละเมิดเกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2532 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 10 กันยายน 2534 อันเกินกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จากนาย วิโรจน์ ฉัตรชยานนท์หรือนายบุ้นล้ำ วราลีลานุกูล จำเลย เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร จากนายชินพร จาตกานนท์ นายชินพร ขับ รถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชน รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์จำนวน 6,300 บาท จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ของโจทก์ในการเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่นาย ชินพรขับ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์บรรยายไว้ชัดเจนว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยการเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มาฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัยที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัยของจำเลยเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูล สัญญาประกันภัย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดดังที่จำเลยฎีกาไม่ จึงนำอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดตามสัญญาประกันภัยและการประกันภัยค้ำจุน เป็นการประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง อายุความการฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี นับแต่ วันเกิดวินาศภัยและอายุความ 2 ปี ดังกล่าวหาได้ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาประกันภัย ดังที่ จำเลยฎีกาเท่านั้นไม่ แต่ใช้บังคับถึงกรณีที่บุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องผู้รับประกันภัยด้วย โจทก์ผู้เข้ารับช่วงสิทธิของบุคคลผู้ต้องเสียหายซึ่งเอาประกันภัยกับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยผู้รับประกันภัยภายในอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยเช่นเดียวกัน เมื่อวินาศภัยเกิดขึ้นวันที่ 1 ตุลาคม 2532 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2534 ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882
ผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
นิเวศน์ คำผอง
สวรรค์ ศักดารักษ์
แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2538
คำพิพากษาย่อสั้น
โจทก์รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยที่จำเลยทำไว้กับผู้เอาประกันภัยของจำเลยจึงเป็นการฟ้องในมูลสัญญาประกันภัยมิใช่มูลละเมิดอายุความฟ้องคดีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882วรรคแรก คือ 2 ปี ซึ่งใช้บังคับถึงกรณีที่บุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องผู้รับประกันภัยด้วย
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จำเลยรับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2532 ขณะที่นายดอกรัก ยิ้มใย ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้มาตามถนน วิภาวดีรังสิต มีนายชินพร ขับรถยนต์ตามหลังมาและด้วยความประมาทของนายชินพร ทำให้ รถยนต์ทั้งสองคันเกิดเฉี่ยวชนกันและได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วจำนวน 6,300 บาท ขอให้บังคับจำเลยชดใช้เงินจำนวน 6,300 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
จำเลยให้การว่าผู้เอาประกันภัยกับโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถหรือมีส่วนได้เสียไม่มีสิทธินำรถมา ประกันภัยกับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เหตุเกิดจากความประมาทของนายดอกรักแต่เพียง ฝ่ายเดียว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 6,300 บาท ให้แก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงประเด็น เดียวว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่ามูลคดีนี้เกิดจากมูลละเมิดเรื่องรถยนต์ ชนกัน โจทก์นำคดีมาฟ้องในมูลละเมิดหาใช่มูลคดีอันเกิดจากการผิดสัญญาประกันภัยไม่ จึงต้องนำอายุความเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่งมาใช้บังคับและคดีนี้โจทก์อาศัยการรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยของโจทก์มา ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยเมื่อผู้เอาประกันภัยของโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดโจทก์ก็ต้องรับช่วงสิทธิในอายุความ 1 ปีเช่นกัน ส่วนการนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ซึ่ง มีอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับต้องเป็นกรณีผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่อกันเท่านั้นเมื่อเหตุละเมิดเกิดวันที่ 1 ตุลาคม 2532 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 10 กันยายน 2534 อันเกินกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องรับผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 1ท-9076 กรุงเทพมหานคร จากนาย วิโรจน์ ฉัตรชยานนท์หรือนายบุ้นล้ำ วราลีลานุกูล จำเลย เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2ช-6091 กรุงเทพมหานคร จากนายชินพร จาตกานนท์ นายชินพร ขับ รถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชน รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์จำนวน 6,300 บาท จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ของโจทก์ในการเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่นาย ชินพรขับ ดังนี้คำฟ้องของโจทก์บรรยายไว้ชัดเจนว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยการเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มาฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัยที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัยของจำเลยเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูล สัญญาประกันภัย หาได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดดังที่จำเลยฎีกาไม่ จึงนำอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อความรับผิดของจำเลยเป็นความรับผิดตามสัญญาประกันภัยและการประกันภัยค้ำจุน เป็นการประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง อายุความการฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี นับแต่ วันเกิดวินาศภัยและอายุความ 2 ปี ดังกล่าวหาได้ใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาประกันภัย ดังที่ จำเลยฎีกาเท่านั้นไม่ แต่ใช้บังคับถึงกรณีที่บุคคลผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องผู้รับประกันภัยด้วย โจทก์ผู้เข้ารับช่วงสิทธิของบุคคลผู้ต้องเสียหายซึ่งเอาประกันภัยกับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยผู้รับประกันภัยภายในอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยเช่นเดียวกัน เมื่อวินาศภัยเกิดขึ้นวันที่ 1 ตุลาคม 2532 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2534 ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882
ผู้พิพากษา
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
นิเวศน์ คำผอง
สวรรค์ ศักดารักษ์
แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
บทความที่เกี่ยวข้อง