ค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานที่มาซ่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิด
อัพเดทล่าสุด: 6 มิ.ย. 2024
206 ผู้เข้าชม
ค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานที่มาซ่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411-3412/2526
คำพิพากษาย่อสั้น
ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่ามีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้นบันทึกดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่ แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถในทางการที่จ้างโดยประมาททำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายจำนวน 152,878 บาท และ 57,133.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในสำนวนคดีของโจทก์ที่ 1 ส่วนคดีของโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้การทั้งสองสำนวนว่า ไม่รับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ได้ประกันภัยรถคันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ไม่ใช่นิติบุคคลเหตุเกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 3 รับประกันภัยยอมรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่เกิน100,000 บาท หากจำเลยที่ 3 รับผิดก็ไม่เกิน 100,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 152,878 บาท และ 57,133.37 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในสำนวนแรกไม่เกิน 70,000 บาท สำนวนที่สองไม่เกิน 30,000 บาท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 รับผิดดอกเบี้ยในต้นเงิน 70,000 บาทต่อโจทก์ที่ 1 และต้นเงิน 30,000 บาทต่อโจทก์ที่ 2 นับแต่วันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทั้งสองสำนวนฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ปรากฏว่าศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2523 ว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่าในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10530/2522 มีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้น บันทึกของศาลชั้นต้นดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าโจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าโจทก์ทั้งสองเป็นนิติบุคคลนั้น เห็นว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติพิเศษโดยเฉพาะคือ พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 โจทก์ทั้งสองจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพนักงานโจทก์ต่างมีเงินเดือนประจำ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยคิดค่าล่วงเวลาของพนักงานโจทก์ด้วยนั้น ทำให้ความเสียหายสูงเกินความจำเป็น ศาลฎีกาเห็นว่า แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วก็ดี แต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานของโจทก์มาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้ เพราะถ้าไม่มีการทำละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมจะไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์มาทำงานล่วงเวลา หรือหากจะใช้ก็คงนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่น หรือหากโจทก์ไม่ใช้พนักงานของโจทก์เอง แต่ได้จ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยก็คงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์เช่นเดียวกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องชอบด้วยรูปคดีแล้ว แต่ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ถอนฟ้องเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปแล้วตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มาตรา 175
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 175
ผู้พิพากษา
พิชัย วุฒิจำนงค์
สนิท อังศุสิงห์
สำเนียง ด้วงมหาสอน
แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411-3412/2526
คำพิพากษาย่อสั้น
ศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่ามีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้นบันทึกดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านครหลวงเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พิเศษโดยเฉพาะ จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้ง หาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองว่าเป็นนิติบุคคลไม่ แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วแต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานมาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้
คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถในทางการที่จ้างโดยประมาททำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายจำนวน 152,878 บาท และ 57,133.37 บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในสำนวนคดีของโจทก์ที่ 1 ส่วนคดีของโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้การทั้งสองสำนวนว่า ไม่รับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ได้ประกันภัยรถคันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนว่า โจทก์ไม่ใช่นิติบุคคลเหตุเกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 3 รับประกันภัยยอมรับผิดต่อบุคคลภายนอกไม่เกิน100,000 บาท หากจำเลยที่ 3 รับผิดก็ไม่เกิน 100,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 152,878 บาท และ 57,133.37 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ โดยให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในสำนวนแรกไม่เกิน 70,000 บาท สำนวนที่สองไม่เกิน 30,000 บาท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 รับผิดดอกเบี้ยในต้นเงิน 70,000 บาทต่อโจทก์ที่ 1 และต้นเงิน 30,000 บาทต่อโจทก์ที่ 2 นับแต่วันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทั้งสองสำนวนฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า ปรากฏว่าศาลชั้นต้นบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2523 ว่า ทนายโจทก์ที่ 2 แถลงไม่ดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ซึ่งส่งหมายให้ไม่ได้อีกต่อไป เป็นอันว่าในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10530/2522 มีโจทก์ที่ 2 พิพาทกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 เท่านั้น บันทึกของศาลชั้นต้นดังกล่าวพอถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าโจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าโจทก์ทั้งสองเป็นนิติบุคคลนั้น เห็นว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติพิเศษโดยเฉพาะคือ พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 โจทก์ทั้งสองจึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายดังกล่าว หาจำต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความรับรองแต่อย่างใดไม่ ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพนักงานโจทก์ต่างมีเงินเดือนประจำ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยคิดค่าล่วงเวลาของพนักงานโจทก์ด้วยนั้น ทำให้ความเสียหายสูงเกินความจำเป็น ศาลฎีกาเห็นว่า แม้พนักงานของโจทก์จะได้รับเงินเดือนจากโจทก์เป็นประจำอยู่แล้วก็ดี แต่เมื่อโจทก์ต้องใช้พนักงานของโจทก์มาซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลาของพนักงานโจทก์จากจำเลยได้ เพราะถ้าไม่มีการทำละเมิดเกิดขึ้น โจทก์ก็ย่อมจะไม่ต้องใช้พนักงานของโจทก์มาทำงานล่วงเวลา หรือหากจะใช้ก็คงนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่น หรือหากโจทก์ไม่ใช้พนักงานของโจทก์เอง แต่ได้จ้างเหมาให้บุคคลอื่นทำการซ่อมแซมแทน จำเลยก็คงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์เช่นเดียวกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องชอบด้วยรูปคดีแล้ว แต่ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ถอนฟ้องเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ไปแล้วตามที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วข้างต้น พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มาตรา 175
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 175
ผู้พิพากษา
พิชัย วุฒิจำนงค์
สนิท อังศุสิงห์
สำเนียง ด้วงมหาสอน
แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
บทความที่เกี่ยวข้อง